ข้ามไปเนื้อหา

เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2021

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2021
สนามกีฬาเวมบลีย์จะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ
วันที่7 สิงหาคม ค.ศ. 2021 (2021-08-07)
สนามสนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
เกเลชี อิเฮอานาชอ (เลสเตอร์ซิตี)[1]
ผู้ตัดสินพอล เทียร์นีย์ (แลงคาเชอร์)[2]
ผู้ชม45,602 คน
2020
2022

เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2021 (หรือ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ภายใต้การสนับสนุนของแมคโดนัลด์ ด้วยเหตุผลด้านการสนับสนุน) เป็นการแข่งขันเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ครั้งที่ 99 ซึ่งเป็นการพบกันระหว่างทีมชนะเลิศพรีเมียร์ลีกฤดูกาลที่ผ่านมาอย่างแมนเชสเตอร์ซิตีกับทีมชนะเลิศเอฟเอคัพฤดูกาลที่แล้วอย่างเลสเตอร์ซิตี[3] แมนเชสเตอร์ซิตีกลับมาแข่งขันในรายการนี้อีกครั้งหลังจากที่พวกเขาเอาชนะการยิงลูกโทษเหนือลิเวอร์พูล 5–4 หลังจากที่เสมอกัน 1–1 ในปี 2019 ในขณะที่เลสเตอร์ซิตีกลับมาเล่นในรายการนี้หลังจากที่พวกเขาแพ้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–1 ในปี 2016 เกมจะแข่งขันในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2021 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ในลอนดอน

อาร์เซนอลเป็นแชมป์เก่าจากการชนะเลิศเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2020 แต่พวกเขาหมดสิทธิ์ป้องกันแชมป์เนื่องจากไม่สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกหรือเอฟเอคัพในฤดูกาลที่แล้วได้

การแข่งขันจะถ่ายทอดสดทางช่องไอทีวี นี่เป็นครั้งแรกที่เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์จะถ่ายทอดสดทางฟรีทีวีหลังจากครั้งล่าสุดในปี 2012 ซึ่งก็ออกอากาศทางไอทีวีเช่นกัน[4]

ภูมิหลัง

[แก้]

เลสเตอร์ซิตีชนะเลิศเอฟเอคัพเป็นสมัยแรกของพวกเขาหลังจากที่เอาชนะเชลซี 1–0 ในรอบชิงชนะเลิศ นี่เป็นครั้งที่สามที่พวกเขาจะลงเล่นในรายการนี้ โดยก่อนหน้านี้ พวกเขาเคยชนะเลิศในปี 1971 และเป็นฝ่ายแพ้ในปี 2016[5]

แมนเชสเตอร์ซิตีชนะเลิศพรีเมียร์ลีกเป็นสมัยที่สามในสี่ปีหลังสุดภายใต้การคุมทีมของแป็ป กวาร์ดิออลา พวกเขาคว้าแชมป์ลีกหลังจากที่คู่ปรับร่วมเมืองอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเปิดสนามโอลด์แทรฟฟอร์ดแพ้เลสเตอร์ซิตี 1–2 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 202 พวกเขาจะลงเล่นในรายการนี้เป็นครั้งที่ 13 ก่อนหน้านี้ พวกเขาชนะเลิศ 6 สมัย (1937, 1968, 1972, 2012, 2018, 2019) และแพ้ 6 ครั้ง (1934, 1956, 1969, 1973, 2011, 2014)[6]

การแข่งขัน

[แก้]

รายละเอียด

[แก้]
เลสเตอร์ซิตี
แมนเชสเตอร์ซิตี
GK 1 เดนมาร์ก แคสเปอร์ สไมเกิล (c)
RB 21 โปรตุเกส รีการ์ดู ปึไรรา
CB 18 กานา ดาเนียล อามาร์เตย์
CB 4 ตุรกี ชาลาร์ เซอยึนจือ
LB 5 อังกฤษ ไรอัน เบอร์ทรันด์ โดนใบเหลือง ใน 50th นาที 50' Substituted off in the 78th นาที 78'
CM 8 เบลเยียม ยูรี ตีเลอมันส์ Substituted off in the 72nd นาที 72'
CM 25 ไนจีเรีย วิลเฟรด อึนดิดี
RW 17 สเปน อาโยเซ เปเรซ Substituted off in the 71st นาที 71'
AM 10 อังกฤษ เจมส์ แมดดิสัน Substituted off in the 71st นาที 71'
LW 7 อังกฤษ ฮาร์วีย์ บาร์นส Substituted off in the 79th นาที 79'
CF 9 อังกฤษ เจมี วาร์ดี Substituted off in the 71st นาที 71'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 12 เวลส์ แดนนี วอร์ด
DF 16 โครเอเชีย ฟิลิป เบ็นคอวิช
DF 33 อังกฤษ ลู้ก ทอมัส Substituted on in the 78th minute 78'
MF 11 อังกฤษ มาร์ก ออลไบรตัน Substituted on in the 71st minute 71'
MF 20 อังกฤษ ฮัมซา ชาดูรี
MF 22 อังกฤษ Kiernan Dewsbury-Hall Substituted on in the 71st minute 71'
MF 42 ฝรั่งเศส บูบาการี ซูมาเร Substituted on in the 72nd minute 72'
FW 14 ไนจีเรีย เกเลชี อิเฮอานาชอ Substituted on in the 79th minute 79'
FW 29 แซมเบีย แพตสัน ดากา Substituted on in the 71st minute 71'
ผู้จัดการทีม:
ไอร์แลนด์เหนือ เบรนดัน ร็อดเจอส์
GK 13 สหรัฐ แซ็ก สเตฟเฟน
RB 27 โปรตุเกส ฌูเวา กังเซลู
CB 3 โปรตุเกส รูแบน ดียัช โดนใบเหลือง ใน 87th นาที 87'
CB 6 เนเธอร์แลนด์ นาตัน อาเก
LB 22 ฝรั่งเศส แบ็งฌาแม็ง แมนดี
CM 80 อังกฤษ Cole Palmer Substituted off in the 74th นาที 74'
CM 25 บราซิล เฟร์นังจิญญู (c) โดนใบเหลือง ใน 88th นาที 88'
CM 8 เยอรมนี อิลไค กึนโดอัน Substituted off in the 65th นาที 65'
RF 26 แอลจีเรีย ริยาฎ มะห์รัซ
CF 21 สเปน เฟร์รัน ตอร์เรส Substituted off in the 74th นาที 74'
LF 53 อังกฤษ Samuel Edozie Substituted off in the 65th นาที 65'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 33 อังกฤษ สกอตต์ คาร์สัน
DF 34 เนเธอร์แลนด์ ฟีลิปแป ซันด์แลร์
DF 39 บราซิล ยัง โกตู
MF 10 อังกฤษ แจ็ก กรีลิช Substituted on in the 65th minute 65'
MF 16 สเปน โรดริ Substituted on in the 65th minute 65'
MF 20 โปรตุเกส บือร์นาร์ดู ซิลวา Substituted on in the 74th minute 74'
MF 69 อังกฤษ Tommy Doyle
MF 81 ฝรั่งเศส Claudio Gomes
MF 96 อังกฤษ Ben Knight Substituted on in the 74th minute 74'
ผู้จัดการทีม:
สเปน แป็ป กวาร์ดิออลา

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
เกเลชี อิเฮอานาชอ (เลสเตอร์ซิตี)[1]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:[2]
Ian Hussin (ลิเวอร์พูล)
Neil Davies (ลอนดอน)
ผู้ตัดสินที่สี่:[2]
Peter Bankes (ลิเวอร์พูล)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:[2]
Nick Hopton (ดาร์บีเชอร์)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:[2]
Darren England (เชฟฟีลด์และแฮลลัมเชอร์)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินจากการช่วยวิดีโอตัดสิน:[2]
Dan Robathan (นอร์ฟอล์ก)

กติกาการแข่งขัน[7]

  • แข่งขันเวลาปกติ 90 นาที
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกโทษเพื่อหาผู้ชนะ
  • ส่งชื่อผู้เล่นสำรองได้เก้าคน
  • เปลี่ยนตัวผู้เล่นสูงสุดได้หกคน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Hafez, Shamoon (7 August 2021). "Leicester City 1–0 Manchester City". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 7 August 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "The 2021 FA Community Shield at Wembley will be refereed by Paul Tierney and his team". TheFA.com. The Football Association. 22 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2 August 2021.
  3. Murphy, Daniel (15 May 2021). "Leicester City to face Man City in Community Shield following FA Cup triumph". Manchester Evening News. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  4. "Community Shield: Man City v Leicester City on 7 August". BBC. 3 June 2021. สืบค้นเมื่อ 16 July 2021.
  5. McNulty, Phil (15 May 2021). "Chelsea 0-1 Leicester: Foxes lift FA Cup for first time after Youri Tielemans stunner". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 15 May 2021.
  6. Stone, Simon (11 May 2021). "Man City Premier League champions as Leicester City beat Manchester United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
  7. "Rules of the Football Association Community Shield" (PDF). TheFA.com. The Football Association. สืบค้นเมื่อ 6 August 2017.